วันเสาร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

เอกสารอ้างอิง

ขอบคุณเจ้าของเครดิต

https://www.blogger.com/blogger.g?blogID=1770545996957509087#editor/target=post;postID=5637495109405719743;onPublishedMenu=posts;onClosedMenu=posts;postNum=0;src=link สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.  รายงานการประชุมวิชาการเรื่อง พืชกระท่อม : สมุนไพรหรือยาเสพติด วันที่ 22 สิงหาคม 2546 ” กรุงเทพฯ : สำนักงาน ปปส., 2546.

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย กลุ่มงานเภสัชกรรม Anonymous

การควบคุมตามกฎหมาย

ปี พ.ศ. 2486  ประเทศไทยเป็นประเทศแรกที่ประกาศควบคุมการใช้พืชกระท่อม โดยตราพระราชบัญญัติพืชกระท่อม พ.ศ. 2486 ระบุห้ามปลูกและครอบครองรวมทั้งห้ามจำหน่ายและเสพใบกระท่อม
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522  กระท่อมเป็นพืชเสพติดให้โทษประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522

     – ผู้ใดผลิต จำหน่าย นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 2 – 5 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 – 150,000 บาท
     – ครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


อาการเมื่อหยุดเสพ

-ไม่มีแรง
- ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อและกระดูก
- แขนขากระตุก
- อ่อนเพลีย ไม่สามารถทำงานได้
- อารมณ์ซึมเศร้า
- นํ้าตาไหล นํ้ามูกไหล
- ก้าวร้าว
- นอนไม่หลับ
- ร่างกายมีอุณหภูมิสูงผิดปกติ
- ถ่ายอุจจาระเหลวมากปกติ
- อยากอาหารยาก
- อาเจียนคลื่นใส้
- มีอาการไอมากขึ้น
- กระวนกระวายมากขึ้น

โทษการเสพใบกระท่อม

          อาการขาดยเมื่อหมดฤทธิ์จะรู้สึกอ่อนเพลีย ปวดเมื่อย เบื่ออาหาร ที่พบ คือ จะไม่มีแรง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและกระดูก แขนขากระตุก รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่สามารถทำงานได้ อารมณ์ซึมเศร้า จมูกแฉะ น้ำตาไหล บางรายจะมีท่าทางก้าวร้าว แต่เป็นมิตร (Hostility) นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร ซึ่งตรงกันข้ามกับอาการขาดยาแอมเฟตามีนที่จะทำให้รู้สึกง่วงนอนมาก หิวจัด และมือสั่น

ผู้เสพจะมีผิวหนังแดงเพราะเลือดไปเลี้ยงผิวหนังมากขึ้น  อาการข้างเคียง  ได้แก่  ปากแห้ง  ปัสสาวะบ่อย  เบื่ออาหาร ท้องผูก  อุจจาระแข็งเป็นก้อนเล็กๆ  นอนไม่หลับ   ถ้าเสพใบกระท่อมในปริมาณมากๆ จะทําให้มึนงง และคลื่นไส้อาเจียน (เมากระท่อม)  แต่ในบางรายเสพเพียง 3 ใบ ก็ทำให้เมาได้  ในรายที่เสพใบกระท่อมมากๆ หรือเป็นระยะเวลานาน มักจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเม็ดสีขึ้นที่บริเวณผิวหนัง ทำให้ผู้ที่รับประทานมีผิวคล้ำและเข้มขึ้น และยังพบอีกว่าเสพกระท่อมโดยไม่ได้รูดเอาก้านใบออกจากตัวใบก่อน อาจจะทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า ถุงท่อมในลำไส้ได้ เนื่องจากก้านใบและใบของกระท่อมไม่สามารถย่อยได้ จึงตกตะกอนติดค้างอยู่ภายในลำไส้ ทำให้ขับถ่ายออกมาไม่ได้ เกิดพังผืดขึ้นมาหุ้มรัดอยู่โดยรอบก้อนกากกระท่อมนั้น ทำให้เกิดเป็นก้อนถุงขึ้นมาในลำไส้ บางรายจะมีอาการโรคจิตหวาดระแวง เห็นภาพหลอน คิดว่าคนจะมาทำร้ายตน และพูดไม่ค่อยรู้เรื่อง


การแพร่ระบาด


ในประเทศไทยมีการเสพใบกระท่อมตามชนบทที่อยู่ห่างไกลส่วนใหญ่ในภาคใต้และภาคกลาง  ปัจจุบันใบกระท่อมมีปัญหาการแพร่ระบาดในกลุ่มวัยรุ่นและนักเรียน   อาจเนื่องมาจากมีราคาถูกและทำให้เกิดอาการเคลิบเคลิ้มได้เช่นเดียวกับสารเสพติดอื่น  ใบกระท่อม ได้ถูกนำมาเป็นสารตั้งต้นสำคัญของยาเสพติดชนิด สี่คูณร้อยโดยมักนิยมนำน้ำกระท่อมต้ม ผสมกับโค้ก  ยากันยุง และยาแก้ไอ (สี่คูณร้อย) ซึ่งวัยรุ่นในพื้นที่นิยมเสพเป็นแฟชั่นสังสรรค์ในกลุ่มเพื่อนตามร้านน้ำชา เพื่อให้รู้สึกสนุกสนานคึกคัก มึนเมา     เริ่มแพร่ระบาดมาตั้งแต่ปี 2547 กระทั่งปัจจุบัน
 ปกติใบกระท่อมถือเป็นพืชเสพติดที่ไม่น่าจะมีอันตรายถึงชีวิต แต่เมื่อนำมาผสมกับสารเพสติดอื่นๆ เป็นสูตร 4 คูณ 100 อาจมีอันตรายทำให้ผู้เสพเสียชีวิตได้จากภาวะได้รับยาเกินขนาด หรือปัญหาความเป็นพิษของยาหลายชนิดที่ออกออกฤทธิ์ร่วมกัน และพร้อมๆ กัน ซึ่งปัญหาเหล่านี้เกิดจากผู้เสพไม่มีความรู้เกี่ยวกับขนาด พิษของยา และการเสริมฤทธิ์ของยา และส่วนหนึ่งมากจากยาเสพติด 4 คูณ 100 มีสูตรส่วนผสมที่ไม่แน่นอนจึงเป็นอันตรายต่อชีวิตได้

 รูปแบบของสาร
 เหตุผลที่เรียกกันว่า 4x100 ก้อเนื่องจากมีการนำมาผสมในสูตรต่างๆดังนี้
สูตรที่1   น้ำต้ม ใบกระท่อม โค้ก ยาแก้ไอ ยากันยุง
สูตรที่2   น้ำต้ม ใบกระท่อม โค้ก ยาแก้ไอ กาแฟ   ซึ่งแถวจังหวัดระนอง เรียกว่า one to call
สูตรที่3   น้ำต้ม ใบกระท่อม โค้ก ยาแก้ไอ นมเปรี้ยว   ซึ่งเป็นสูตรแถวจังหวัดระนอง
สูตรล่าสุดที่เด็กๆนิยมนำมาใส่ก้อเริ่มจะแผลงๆมากยิ่งขึ้นได้แก่ สีสท้อนแสงที่ใช้ทาพื้นถนน ผงเรืองแสงในหลอดฟูลออเรสเซนน์ เป็นต้น

ประวัติความเป็นมา


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
        กระท่อมเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ปานกลาง มีแก่นเป็นไม้เนื้อแข็ง สูง10 -15 เมตร อยู่ในตระกูล Mitragyna speciosa ใบคล้ายใบกระดังงา มีชนิดก้านใบแดงและใบเขียว ดอกกลมโตขนาดเท่าผลพุทรา ใบเป็นใบเดี่ยวสีเขียว เรียงตัวเป็นคู่ตรงข้าม แผ่นใบขนาดกว้างประมาณ 5-10 ซม. ยาวประมาณ 8-14 ซม. ดอกมีสีขาวอมเหลืองออกเป็นช่อตุ้มกลมขนาด 3-5 ซม.

 แหล่งที่พบ 
         ในบางจังหวัดของภาคกลาง เช่น ปทุมธานี แต่จะพบมากในป่าธรรมชาติบริเวณภาคใต้ เช่น สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง สตูลพัทลุง สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และตอนบนของประเทศมาเลเซีย

หน้าแรก

          ใบกระท่อมให้ผลการออกฤทธิ์ที่อาจมีประโยชน์ทางยาได้ แต่ทำให้เสพติดได้และยังมีผลเสียต่อสุขภาพ หากใช้ติดต่อกันนานๆปัจจุบันกระท่อมใบกระท่อมมีปัญหาการแพร่ระบาดในกลุ่มวัยรุ่นและนักเรียน   อาจเนื่องมาจากมีราคาถูกและทำให้เกิดอาการเคลิบเคลิ้มได้เช่นเดียวกับสารเสพติดอื่น  โดยมักนิยมนำน้ำกระท่อมต้ม ผสมกับโค้ก  ยากันยุง และยาแก้ไอ (4x100) 

กระท่อมก้านเขียว
ลักษณะใบกระท่อม
คล้ายใบฝรั่ง หรือใบกระดังงา เส้นใบมีสองแบบ คือสีเขียว 
และสีแดง ดอกทรงกลมสีเหลือง มีรสขม ทานแล้วเกิดการเมา

กระท่อมก้านแดง