ในประเทศไทยมีการเสพใบกระท่อมตามชนบทที่อยู่ห่างไกลส่วนใหญ่ในภาคใต้และภาคกลาง ปัจจุบันใบกระท่อมมีปัญหาการแพร่ระบาดในกลุ่มวัยรุ่นและนักเรียน อาจเนื่องมาจากมีราคาถูกและทำให้เกิดอาการเคลิบเคลิ้มได้เช่นเดียวกับสารเสพติดอื่น
ใบกระท่อม ได้ถูกนำมาเป็นสารตั้งต้นสำคัญของยาเสพติดชนิด “สี่คูณร้อย” โดยมักนิยมนำน้ำกระท่อมต้ม ผสมกับโค้ก
ยากันยุง และยาแก้ไอ (สี่คูณร้อย) ซึ่งวัยรุ่นในพื้นที่นิยมเสพเป็นแฟชั่นสังสรรค์ในกลุ่มเพื่อนตามร้านน้ำชา เพื่อให้รู้สึกสนุกสนานคึกคัก มึนเมา
เริ่มแพร่ระบาดมาตั้งแต่ปี 2547 กระทั่งปัจจุบัน
ปกติใบกระท่อมถือเป็นพืชเสพติดที่ไม่น่าจะมีอันตรายถึงชีวิต
แต่เมื่อนำมาผสมกับสารเพสติดอื่นๆ เป็นสูตร 4 คูณ 100
อาจมีอันตรายทำให้ผู้เสพเสียชีวิตได้จากภาวะได้รับยาเกินขนาด
หรือปัญหาความเป็นพิษของยาหลายชนิดที่ออกออกฤทธิ์ร่วมกัน และพร้อมๆ กัน
ซึ่งปัญหาเหล่านี้เกิดจากผู้เสพไม่มีความรู้เกี่ยวกับขนาด พิษของยา
และการเสริมฤทธิ์ของยา และส่วนหนึ่งมากจากยาเสพติด 4 คูณ 100
มีสูตรส่วนผสมที่ไม่แน่นอนจึงเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
รูปแบบของสาร
เหตุผลที่เรียกกันว่า
4x100 ก้อเนื่องจากมีการนำมาผสมในสูตรต่างๆดังนี้
สูตรที่1
น้ำต้ม ใบกระท่อม โค้ก ยาแก้ไอ ยากันยุง
สูตรที่2
น้ำต้ม ใบกระท่อม โค้ก ยาแก้ไอ กาแฟ ซึ่งแถวจังหวัดระนอง เรียกว่า one to call
สูตรที่3
น้ำต้ม ใบกระท่อม โค้ก ยาแก้ไอ นมเปรี้ยว ซึ่งเป็นสูตรแถวจังหวัดระนอง
สูตรล่าสุดที่เด็กๆนิยมนำมาใส่ก้อเริ่มจะแผลงๆมากยิ่งขึ้นได้แก่
สีสท้อนแสงที่ใช้ทาพื้นถนน ผงเรืองแสงในหลอดฟูลออเรสเซนน์ เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น